Slide30.JPG

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่อง nerve pain คือ neuromodulation โดยเฉพาะ peripheral nerve stimulation

ส่วนตัวแล้วจะมีประสบการณ์ในการเป็นผู้ช่วยผ่าตัดในกรณี spinal cord stimulation ซะมากกว่า ส่วน peripheral nerve stimulation เอง ยังไม่แพร่หลายในเมืองไทย ทั้งในโรงเรียนแพทย์ รพ.รัฐ หรือใน รพ.เอกชน ซึ่งน่าจะเป็นผลจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย เพราะราคาอุปกรณ์ implantable device ในปัจจุบันยังมีราคาแพงมาก

Slide45.JPG

สำหรับ peripheral nerve stimulation มี literature ในการรักษาอาการปวดที่เป็น chronic pain ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดจากเส้นประสาทเอง หรืออาการปวดจากสาเหตุอื่นที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเส้นประสาทซะทีเดียว เช่น fibromyalgia หรือ coccydynia

Slide46.JPG

การใช้ peripheral nerve stimulation จะแนะนำก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีที่ non-invasive อื่นๆ

<aside> 📌 หลักเกณฑ์ในการเลือกผู้ป่วยมาทำ peripheral nerve stimulation โดยทั่วไปคือ

  1. อาการปวดอธิบายได้จาก single peripheral nerve
  2. ทำ nerve block ที่เส้นประสาทดังกล่าวแล้วได้ผล
  3. ได้รับการตรวจ หรือ investigation เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่รักษาได้ไปแล้ว
  4. ผู้ป่วยมีความคาดหวังที่ถูกต้อง และไม่มีปัญหาทางด้านจิตเวช ซึ่งอาจจะทำให้การประเมินเรื่องการปวดเป็นไปได้ยาก

</aside>

Slide47.JPG

<aside> 📌 ข้อห้ามโดยทั่วไป ที่ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ peripheral nerve stimulation ได้แก่

  1. มีปัญหาด้านการแข็งตัวของเลือด
  2. มีการติดเชื้อบริเวณที่จะต้องผ่าตัด
  3. มีโรคทางจิดเวชร่วมด้วย
  4. ไม่ตอบสนองต่อ diagnostic block
  5. ผู้ป่วยที่อาจต้องทำ MRI follow-up เพราะอาจจะมีผลเกี่ยวกับ signal aberrant หรืออาจจะมีปัญหากับการทำงานของ device ได้

</aside>

Slide48.JPG

การใส่ electrode สามารถใส่ได้ทั้งการผ่าตัดแบบเปิด เพื่อใส่ electrode ให้ contact กับเส้นประสาท หรือจะใส่เป็น percutaneous insertion ก็ได้

Slide49.JPG

ส่วน pulse generator ในอดีตมักเป็น implantable pulse generator แต่ปัจจุบัน มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณ pulse generator ที่เป็นแบบติดผิวหนังภายนอกได้

Slide50.JPG

มีผลการศึกษาสำหรับผลของการใช้ peripheral nerve stimulation ออกมามากมาย

แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วย 50-70% จะตอบสนองต่อการรักษา

โดยการตอบสนองต่อการรักษาโดยเฉลี่ย คือลดอาการปวดได้ 50% ของการปวดเดิม

จะเห็นว่าแม้จะใช้อุปกรณ์ stimulation ที่มีราคาแพง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดได้ทั้งหมด การพูดคุยถึงผลการรักษา และการช่วยให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจ และความคาดหวังที่ถูกต้องเกี่ยวกับการผ่าตัด จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ